Diary

"เพลินวาน"

จุดเริ่มต้นของเพลินวานเกิดขึ้นมาจาก...ความเชื่อ
เชื่อในการทําธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของการให้มากกว่าผลกําไร ให้...เพื่อได้ให้...ไม่มีสิ้นสุด
เชื่อในความสุขที่ได้จากการคิดดี...ทําดี
และ เชื่อว่า...ถ้าเรามีความตั้งใจแล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงได้  

ก้าวแรก...บนความแตกต่าง
หากเดินตามรอยเท้าคนอื่น ก็ไม่มีวันมีรอยเท้าเป็นของตัวเอง
คิดต่าง...เพลินวาน ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมความสุข สถานที่หยุดเวลา เรื่องราวมากมายในอดีตไว้ เพื่อให้ความทรงจำดีๆของวันวาน ย้อนคืนกลับมาสร้างความอิ่มเอมใจให้กับผู้คนยุคนี้ สมัยนี้ อีกครั้ง...ก่อนที่สิ่งเหล่านี้ จะเลือนลางและจางหายไปตามกาลเวลา
ทำต่าง...เพลินวาน เป็นเสมือน ” พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Life Museum) ของย่านการค้าวันวาน ” ...ที่ซึ่งเป็นมากกว่าสถานที่ หรือ สิ่งก่อสร้างสวยงามย้อนยุคตามสมัยนิยม แต่สิ่งสำคัญคือ ที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณ มีการดำรงอยู่ของผู้คนอย่างแท้จริง
ให้...ที่แตกต่าง  เพลินวานมีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ โดยยืนหยัดอยู่บนพื้นฐานของการให้ในเชิงคุณภาพ มากกว่าเน้นการขายในเชิงปริมาณ




"พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน"


         พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังสร้างในสมัยร.6 ที่ ต.ห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นพระตำหนักประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพอพระราชหฤทัยที่สถานที่ที่ตำบลบางควายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการก่อสร้างพระราชนิเวศน์ใหญ่ใน พ.ศ. 2466 โดยที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและพระองค์ได้ทรงร่างแผนผังการก่อสร้างพระราชนิเวศน์ด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ได้ทรงเพิ่มพระตำหนักฝ่ายใน ทรงเลือกแบบพระราชนิเวศน์เป็นอาคารแบบไม้ชั้นเดียว หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องสี่เหลี่ยม ใต้ถุนสูง เทพื้นคอนกรีตตลอด โดยที่พระตำหนักต่างๆ ได้แบ่งกระจายกันอยู่เป็นหลังๆ มีรูปทรงแบบเดียวกันหมด แต่ทุกหลังจะมีระเบียงและบันได ส่วนทางเดินจะมีลูกกรงและหลังคาเชื่อมติดต่อถึงกันตลอดเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเดินติดต่อกันระหว่างพระตำหนักต่างๆ ได้จัดวางห้องบรรทมอยู่กลางติดกับห้องแต่งพระองค์ มีห้องเสวยด้านหลัง มีสะพานทอดออกไปทางด้านขวามือเป็นส่วนของฝ่ายใน ด้านหน้ามีสะพานทอดยาวไปเป็นห้องทรงพระอักษรใกล้ชายหาด
  
         ประวัติ : พระราชนิเวศน์ เมื่อก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันใกล้เสร็จอย่างสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้มีการตรวจการปลูกสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับเสด็จ ในการแปรพระราชฐานในฤดูร้อน พ.ศ. 2467

เมื่อการก่อสร้างพระราชนิเวศน์เสร็จได้พระราชทานนามพระราชนิเวศน์แห่งนี้ว่าพระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแปรพระราชฐานประทับพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งแรก (วันที่ 22 เมษายน-13 กรกฎาคม) และเสด็จประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถในฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งที่ 2 (วันที่ 12 เมษายน-20 มิถุนายน) ในการเสด็จครั้งนี้พระองค์ทรงงานตลอดเวลา
หลังจากสร้างเสร็จแล้วทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้หลวงสมบูรณ์บุรินทร์เป็นหัวหน้าพนักงานรักษาที่พักมฤคทายวัน ต่อมาใน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชา การตำรวจตะเวนชายแดนใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ฝึกการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ คือกองกำกับการที่ 1 กองบังคับพิเศษ ในพ.ศ. 2523 หน่วยราชการนี้ได้นามพระราชทานว่า "ค่ายพระรามหก"
นอกจากนี้ได้จัดตั้งมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้ทรง พระกรุณาโปรดรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ปัจจุบันนี้ทางมูลนิธิและค่ายพระรามหก ยังได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมพระราชนิเวศน์ความสวยงามของพระราชวังแห่งนี้ด้วย
ดังนั้นพระราชนิเวศน์มฤคทายวันถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่ง และยังเป็นสถานที่น่าสนใจให้ความรู้ แก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป




"ไร่องุ่นสุพัตรา"


"มีองุ่นให้ชิมฟรี  หวานกรอบ  อร่อยมาก"



"มีไวน์ขายเป็นผลิตภัณฑ์ของทางไร่เอง"




"เที่ยวชมธรรมชาติ ชิมองุ่นสดจากไร่ มีน้ำองุ่นคั่นสดแช่เย็น
ให้ชิม รสชาติอร่อยกลมกล่อม มีขนมไส้องุ่นหน้าตาต่างๆให้ชิมและขาย
เยอะแยะมากมาย มีไวน์และมีสปายเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ไร่ไว้ขายเอง"